เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน

Archive for July, 2011|Monthly archive page

คุณค่าของข้าวพื้นบ้าน

In กรณีศึกษา, Farmers Groups on 23/07/2011 at 12:13 pm

(ตอนที่ 2)

          จากที่กล่าวมาจากตอนที่แล้ว  ข้าวพื้นบ้านมีความหลายหลายทั้งด้านอายุ และคุณลักษณะเฉพาะมากมาย จึงทำให้เกิดความเหมาะสมกับสถาพพื้นที่ที่หลายหลายของแต่ละระบบนิเวศน์ และจากความหลายหลายนี้เองเกษตรกรที่ปลูกข้าวพื้นบ้านจึงค้นพบคุณค่าข้าวพื้นบ้านในด้านต่างๆ คือ

  • ข้าวพื้นบ้านกับการจัดการแรงงาน

          เนื่องจากสภาพการทำนาในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวชนิด และอายุเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทำให้เมื่อถึงฤดูกาลทำนาจะต้องระดมแรงงานทั้งในครอบครัว และจ้างเพิ่มเติมมาช่วยกันให้ทันต่อฤดูกาลโดยเฉพาะช่วงการดำนา และช่วงการเก็บเกี่ยวทำให้หลายหมู่บ้านเกิดสถานการณ์ขาดแรงงาน ค่าแรงงานสูงและการแย่งชิงแรงงาน การปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์จึงเป็นการปลูกเพื่อการจัดการแรงงาน เกษตรกรสามารถวางแผนการจัดการพื้นที่การทำนาตามช่วงอายุของข้าวกับสภาพพื้นที่และแรงงานในครอบครัว ทำให้มีแรงงานเพียงพอจากการกระจายระยะเวลาการทำนาตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกจนกระทั้งเก็บเกี่ยว ซึ่งเริ่มปักดำตั้งแต่เดือนมิถุนายน จนถึงเดือนสิงหาคมโดยเริ่มปักดำข้าวหนักในที่ลุ่มก่อน เมื่อเสร็จข้าวหนักแล้ว จึงเริ่มดำข้าวกลางและข้าวเบา ส่วนในการเก็บเกี่ยว จะเริ่มเกี่ยวตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม โดยเริ่มจากเกี่ยวข้าวเบาก่อน และข้าวหนักเป็นชนิด Read the rest of this entry »

คุณค่าของข้าวพื้นบ้าน

In กรณีศึกษา, Farmers Groups on 21/07/2011 at 7:27 pm

ตอนที่ (1)

ข้าวพื้นบ้านมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

จากการสำรวจรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน และการศึกษาวิจัยของกลุ่มองค์กรชาวบ้านพบว่าข้าวพันธุ์พื้นบ้านมีลักษณะ และความหลากหลายที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกตามอายุของข้าวได้ 3 ช่วงอายุได้แก่ อายุเบา อายุปานกลาง และอายุหนัก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเฉพาะสายพันธุ์อีกเช่น ความทนแล้ง ทนน้ำท่วมและขึ้นน้ำหรือที่เรียกว่าข้าวลอย จากคุณสมบัติที่หลากหลายนี้ข้าวพื้นบ้านจึงมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่นิเวศน์ที่มีความแตกต่างกันตั้งแต่พื้นที่ทามน้ำท่วม พื้นที่ทุ่งราบ พื้นที่โคก และพื้นที่สูงไหลเขา รวมทั้งสภาพดินที่แตกต่างกันในแต่ละนิเวศน์ซึ่งได้มีการจำแนกความเหมาะสมของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านกับลักษณะนิเวศน์นาในภาคอีสานดังนี้

Read the rest of this entry »